เครื่ีองปรุงรสในอาหารใต้


เครื่ีองปรุงรสในอาหารใต้
          น้ำบูด  ได้จากการหมักปลาตัวเล็กๆ
กับเกลือเม็ดในโอ่ง  ไห  หรือถังซีเมนต์
ปิดฝาผนึกให้สนิท แล้วตากแดดทิ้งไว้้  2-3
เดือน หรือเป็นปีจึงนำมาใช้ได้  บูดูมีทั้ง
ชนิดหวาน  และชนิดเค็มชนิดหวานใช้คลุก
ข้าวยำปักษ์ใต้  ชนิดเค็มใช้ปรุงอาหารประเภท
น้ำพริก เครื่องจิ้ม 

   พุงปลา  ได้จากากรนำพุงปลาทู หรือ
ปลาลังมารีดสิ่งสกปรกออก ใส่เกลือหมักไว้
้1  เดือนขึ้นไปแล้วจึงนำมาปรุงอาหาร

          เนื้อหนาง  คือ  การนำหัวของวัวไปย่างๆฟอ่อนๆ จนสุกทั่ว แช่น้ำทิ้งไว้
้  1  คืน  แล้วขูดส่วนที่ไหม้ออกจนขาวสะอาด  เลาะส่วนที่เป็นเนื้อมาเคล้ากับเกลือ
 น้ำตาลปี๊บหมักไว้  2-3  คืน  จึงนำมาปรุงอาหารได้  เนื้อหนางอาจทำโดยใช้เศษ
เนื้อปนเอ็นหมักก็ได้เช่นกัน

     กุ้งแห้ง  คือ  การนำกุ้งที่ได้มาเคล้า
เกลือตากแดดให้แห้ง  เก็บไว้รับประทาน
ได้นานใช้เป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกง
หรือแกงต่างๆ 

         กะปิกุ้ง  คือ  เครื่องปรุงรสที่นิยมใส่ในน้ำพริกต่างๆ  ช่วยให้มีกลิ่นหอม  ทำได้โดยการนำกุ้งมาหมักกักเกลือ  พักให้สะเด็ดน้ำนำไปตากแดดพอหมาด  บดจนมีเนื้อละเอียดบรรจุใส่ในโอ่ง (  อัดให้แน่น )  ประมาณ  3-4  เดือ ก็จะได้กะปิ
ิจากกุ้งมีกลิ่นหอม  เนื้อเหนียวละเอียด

         กะปิเคย คือ เครื่องปรุงที่ใส่ในส่วนผสมของน้ำพริกแกงเช่นเดียวกับ
กะปิกุ้งมีลักษณะเหมือนกันจนบางครั้งอาจแยกไม่ออก  ทำโดยการนำตัวเคย 
( กุ้งที่มีขนานเล็กมาก )  มาหมักกับเกลือ  ตากแดด  แล้วบดให้มีเนื้อละเอียด  เช่นเดียวกับการทำกะปิจากกุ้ง  แต่มีกลิ่นหอมแตกต่างกัน อีกทั้งมีเนื้อที่
หยาบกว่ากะปิที่ทำจากกุ้ง  และมีเม็ดตาดำๆ  ของตัวเคยรวมอยู่ในเนื้อกะปิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น