ประวัติอาหารภาคอีสาน


     ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขตที่ราบสูง
อยู่ห่างไกลทะเลค่อนข้างแห้งแล้งและกันดาร
คนอีสานจะรับประทานพืชผักที่ขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ   ส่วนเนื้อสัตว์ต่างๆ
นั้นได้มาจากสัตว์ซึ่งชาวบ้านเลี้ยงไว้เองใน
ครัวเรือน

          รสชาติของอาหารค่อนข้างจัด
ไม่นิยมอาหารที่มีรสเปรี้ยวและหวาน
เกินไปประกอบอาหารด้วยการปิ้งมากกว่าการ
ทอดซึ่งนอกจากจะสะดวกแล้ว ยังไม่ต้องมี
ีอุปกรณ์มากมาย  นอกจากนี้ี้ยังรับประทาน
แมลงต่างๆ  เช่น  มดแดง ตั๊กแตน  ดักแด้
แมงกุดจี้  ฯลฯ ที่สามารถหาได้ทั่วไปใน
ธรรมชาติอีกด้วย  
ไข่มดแดง


หุงข้าวเหนียว
คนอีสานรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักนิยมหุง
ข้าวเหนียวในหวด  ( ภาชนะที่สานจากไม้ไผ่มีลักษณะ
ก้นแหลม  ปากบาน  ใช้สำหรับนึ่งข้าว )  โดยมีหม้อใส่
น้ำรองด้านล่างตั้งไฟไว้ให้เดือด  ไอน้ำร้อนจะช่วยทำ
ให้เมล็ดข้าวเหนียวที่อยู่ในหวดสุกนุ่ม  แต่เนื่องจาก
สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งคนส่วน
ใหญ่นิยมความสะดวกสบายในการประกอบอาหาร
จึงประยุกต์นำข้าวเหนียวมาทดลองหุงในหม้อหุงข้าว
ไฟฟ้าโดยใช้อัตราระหว่างน้ำ  :  ข้าวเหนียวดิบที่
เหมาะสมดังนี้
-  ข้าวเหนียวเขี้ยวงู  ใช้ข้าวเหนียวดิบ    2  ถ้วย  :  น้ำ  1¾  ถ้วย
-  ข้าวเหนียวธรรมดา  ใช้ข้าวเหนียวดิบ  2  ถ้วย  :  น้ำ  1¾  ถ้วย
-  ข้าวเหนียวกล้อง  ใช้ข้าวเหนียวดิบ     2  ถ้วย  :  น้ำ  2¾  ถ้วย
ข้าวเหนียวร้อน.....ๆ



สำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานข้าวเหนียวกล้องเพียงอย่างเดียว  สามารถนำข้าวเหนียวขาวมาผสม  โดยใช้ปริมาณข้าวเหนียวขาว  1  ถ้วย  ผสมรวมกับข้าวเหนียวกล้อง  1  ถ้วย  แล้วเติมน้ำเปล่าลงไป  2¾  ถ้วย  นำไปหุงข้าวในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าตามปกติ
ก็จะได้ข้าวเหนียวที่นึ่งในหวด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น